อิฐบล็อคนาโน กับภัยพิบัติ

อิฐบล็อคนาโน (Nano Block) กับการสร้างบ้านเพื่อรับมือภัยธรรมชาติ

โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยภิบัติ (NIDA Center for Research & Development of Disaster Prevention & Management)

Nano Block.jpeg

ระบบการก่อสร้างในปัจจุบันของประเทศไทย พบว่ายังคงมีปัญหาอยู่มาก อาทิ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน วัสดุก่อสร้างมีราคาแพง ต้นทุนและค่าขนส่งที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมัน รวมถึงแนวโน้มการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่เราไม่อาจคาดการณ์ได้ ดังนั้นช่องทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวคงหนีไม่พ้นความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นการพัฒนาที่มักจะสวนทางกับกระแสอนุรักษ์โลก ด้วยเหตุผลที่ว่าความเจริญล้ำหน้ามักจะก่อให้เกิดปัญหาสภาวะโลกร้อนตามา ซึ่งส่งผลโดยรวมมาจากการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง จนก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติ และยังส่งผลกระทบต่อความผันผวนของกระแสเศรษฐกิจโลกอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงมีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ในการสร้างที่อยู่อาศัยแบบรักษ์โลก และสามารถรับมือภัยพิบัติด้วยอิฐบล็อคนาโน (Nano Block) ขึ้น โดยจัดเป็นนวัตกรรมใหม่ในวงการก่อสร้างที่จะตอบโจทย์กระแสรักษ์โลกในอนาคต

bl.jpg

อิฐบล็อคนาโน เป็นระบบการก่อสร้างแบบโมดูลล่าร์ (Modular Building Method) [1] ซึ่งกำลังคิดค้นพัฒนาเช่นเดียวกับในประทศออสเตรเลีย เพื่อให้การก่อสร้างลดการเสียเศษวัสดุ ทำงานได้รวดเร็วขึ้น ทำหน้าที่เป็นผนัง เสา คานคอดิน เสาเอ็น คานเอ็น ได้ในตัวเดียวกัน ซึ่งเป็นผนังรับแรง (Wall Bearing) ทำให้มีความแข็งแรงมากเป็นพิเศษกว่าระบบการก่อสร้างเสา-คาน ซึ่งเสียเวลามาก และต้นทุนสูงเกินไป ทำให้บ้านที่ก่อสร้างด้วยอิฐบล็อค นาโน ไม่ต้องมีเสาให้เกะกะสายตา วางเฟอร์นิเจอร์ได้ง่าย และสวยงามกว่า ด้วยการลดขบวนการทำงานก่อสร้างลง ทำให้บ้านก่อสร้างด้วยอิฐบล็อค นาโน จึงก่อสร้างได้ รวดเร็วกว่า แข็งแรงกว่า ประหยัดกว่า ในทุกกรณี การสร้างบ้านด้วยอิฐบล๊อกนาโนไม่ต้องมีเสาคานมารับน้ำหนัก เพราะอาศัยหลัก wall bearing system  [2] โดยใช้ผนังอาคารเป็นตัวรับน้ำหนักแทนที่น้ำหนักจะลงไปที่เสาคาน และตัวอิฐเองถูกออกแบบมาให้รับน้ำหนักได้ถึง 15 ตัน (ขึ้นอยู่กับสูตรที่ใช้) น้ำหนักจะเฉลี่ยลงไปที่ผนังโดยรอบแล้วลงไปที่ฐานรากที่ทำเป็นฐานแผ่ด้านล่าง  หากเกิดการทรุดตัวก็จะทรุดลงไปเท่าๆ กัน ซึ่งเป็นเทคนิคของการก่อสร้างสมัยแรกๆ ในแถบประเทศที่สร้างบ้านด้วยอิฐหรือดิน โบสถ์ใหญ่สมัยเก่าในประเทศยุโรปส่วนใหญ่ก็สร้างด้วยวิธีนี้ ส่วนในประเทศไทย เองวัดพระแก้วหรือพระบรมมหาราชวังก็ใช้เทคนิคนี้  ปัญหาหนึ่งที่จะหมดไปเมื่อก่อสร้างด้วยวิธีนี้คือตัวผนังร้าวหรือตัวอาคารทรุดไม่เท่ากัน

Product_33937_851484830_fullsize.jpg

ทำไมอิฐบล็อค นาโน (Nano Block) ถึงดีกว่า การก่อสร้างแบบเดิมๆ [3]
1) ประหยัด

  • ระบบการก่อสร้างแบบผนังรับแรง ทำให้ถ่ายน้ำหนักตลอดความยาวผนัง แทนการถ่ายน้ำหนักที่ต้องวิ่งลงเสา ฐานรากเป็นจุดๆ ทำให้มีน้ำหนักมากเกินกว่าดินรับได้ จึงต้องใช้เสาเข็มช่วย การถ่ายน้ำหนักตลอดแนวผนัง ทำให้น้ำหนักที่ถ่ายลงดินเหลือน้อยมาก ทำให้ไม่มีแรงเค้นที่ดินฐานราก ทำให้ไม่ต้องตอกเสาเข็มให้เสีย เวลา และ เปลืองเงิน โดยใช่เหตุอีกต่อไป
  • ผนังรับแรงแบบนี้ทำให้ ไม่ต้องเสียเวลา และเงินในการทำ เสา คานคอดิน คานเอ็น เสาเอ็น เช่นกัน
  • ในกรณีต้องการยกระดับพื้นชั้นล่างให้สูงจากระดับดินเดิม 1.00 เมตร ก็เพียงการกรอกคอนกรีตลงในอิฐบล็อค นาโน แล้วถมดินภายในอาคารได้เลย
  • ใช้ปูนกาวก่อโดยการจุ่มแล้ววาง แทนการก่อด้วยปูนก่อ (Mortar) ทำให้ก่อผนังได้รวดเร็วกว่าเดิมมาก และแข็งแรงกว่ามาก
  • อิฐบล็อค นาโน มีลายผิวที่สวยงามแปลกตา ไม่ต้องฉาบปูนก็ได้ น้ำไม่ซึมเข้า
  • อิฐบล็อค มีรูกลวงภายใน ทำให้เป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้อีก โดยกรอกทรายหยาบ หรือ วัดสุอื่นๆ เพื่อให้ต้านทานความร้อนความเย็นได้มากขึ้น ซึ่งมีราคาประหยัด
  • อิฐบล็อค นาโน สามารถหล่อผลิตได้ในท้องถิ่น หรือ สถานที่ก่อสร้าง ทำให้ใช้วัสดุท้องถิ่นไม่ต้องเสียค่าขนส่งไกลๆ และใช้แรงงานภายในชุมชนได้ ทำให้ประหยัดกว่า
  • การก่อสร้างเป็นระบบโมดูลล่าร์ เพราะระยะอาคารจะลงด้วยระยะ 20 ซม. ทำให้ปูกระเบื้องพื้นไม่เสียเศษ ทำให้ประหยัดกว่า

2) แข็งแรง

  • อิฐบล็อค นาโน หล่อด้วยคอนกรีตแบบเปียก ทำให้มีคุณสมบัติทางวิศวกรรมศาสตร์ได้ดีกว่าแบบแห้ง หรือ วัสดุอื่นๆ ทำให้นำมาสร้าง เป็นผนังรับแรงได้ (Wall Bearing) ทำให้ลดเวลาและค่าใช้จ่าย การก่อสร้างเสา คาน เสาเอ็น คานเอ็นลง
  • สามารถเพิ่มความแข็งแรงโครงสร้างให้รับแรงได้ โดยการเสริมเหล็กและเทคอนกรีตลงในรูปกลวงอิฐบล็อค ก็จะได้อาคารคอนกรีต เสริมเหล็กทั้งหลังราคาประหยัด
  • บล็อคมีเดือยด้านบนและล่าง ทำให้ผนังสามารถรับแรงด้านข้างได้ดีกว่าผนังที่ก่อด้วยวัสดุอื่นๆ

3) รวดเร็ว

  • ระบบการก่อสร้างแบบผนังรับแรง ทำให้ไม่ตอกเสาเข็ม เสา คานคอดิน เสาเอ็น คานเอ็น ทำให้การก่อสร้างลดลงได้ถึง 50 %
  • อิฐมีเดือยด้านบนด้านล่าง และ ใช้ปูนกาว ทำให้ก่อผนังได้รวดเร็ว ได้ดิ่งฉากได้ง่ายกว่า
  • ไม่ต้องใช้ช่างปูน หายาก ราคาแพง เจ้าของบ้านทำเองก็ได้ เพียงจับวางเท่านั้น
  • ผิวผนังมีลายที่สวยงาม ทำให้ไม่จำเป็นต้องฉาบปูน หรือ ทาสีก็ได้ น้ำไม่รั่วซึม
  • สามารถฝังท่อไฟฟ้า ท่อประปาได้ ไม่เสียเวลาสกัดผนังแบบเดิม

4) สวยงาม

  • อิฐบล็อค นาโน เป็นคอนกรีตรับแรง ทำให้ปูนฉาบบริเวณผนังไม่แตกตรงมุมประตูหน้าต่าง ทำให้แลดูสวยงามกว่า
  • เป็นผนังรับแรง ทำให้ไม่มีเสาให้ดูเกะกะรกหูรกตา เหมือนเดิม ทำให้ตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ได้ง่าย สวยงาม
  • ผิว โดดเด่น สวยงาม แปลกตากว่า ทำให้ไม่ต้องฉาบปูนทับก็ได้ น้ำไม่รั่วซึม
  • สามารถผสมสีลงในคอนกรีตได้กว่า 36 สี ทำให้ไม่ต้องฉาบปูน ไม่ต้องห่วงเรื่องสีลอก หรือเก่า ภายหลัง
  • สามารถผสมหิน หรือ ทรายเรืองแสง ทำให้กลางคืนมีแสงสว่าง เป็นจุดเด่นและ สวยงามแปลกตา

5) เศรษฐกิจที่ดีกว่า

  • เจ้าของบ้านสามารถสร้างบ้านได้เอง (เกือบทั้งหมด) ลดการจ้างแรงงานหรือช่างฝีมือลง ไม่ต้องเป็นหนี้มาก
  • สามารถผลิตได้เองในท้องถิ่น ทำให้เศรษฐกิจชุมชนหมุนเวียนดีขึ้นกว่าซื้อวัสดุหรือแรงงานจากส่วนกลาง
  • ลดการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ส่วนกลาง ทำให้มีส่วนในการลดปัญหาสังคมได้อีกทาง

6) เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า

  • สามารถเลือกใช้เศษวัสดุเหลือใช้ (Recycle) มาเป็นวัสดุผสม ทำให้ช่วยลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ดี
  • อากาศภายในบ้านเย็นสบาย ทำให้ลดใช้ไฟฟ้า ลดความจำเป็นในการสร้างเขื่อน หรือ การทำเหมืองแร่ ที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์มาก
  • ลดการขนส่งวัสดุระยะไกลๆ ลดการใช้น้ำมันรถยนต์ขนส่งลงได้มาก

ผลทดสอบคอนกรีตบล็อคประหยัดพลังงาน

โดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

bl17.jpg
การบ่มอิฐบล็อคนาโน โดยการรดน้ำแล้วใช้พลาสติกคลุม

bl21.jpg

test(2).jpg


Article : ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยภิบัติ (NIDA Center for Research & Development of Disaster Prevention & Management)

Writer : หยาดน้ำค้าง

Photograph : akanek

Published by mflexfactory

'mflex factory' โรงงานและ gallery เล็กๆ สำหรับการทดลอง และนำเสนอผลิตภัณท์ในการตกแต่งบ้าน-สวน ด้วยตัวคุณเอง

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s